การบันทึกเสียงโฆษณาให้เด็กๆชั้นอนุบาล3ฟัง

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่5

วันนี้นำเสนองานต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว

กลุ่มที่4 การสอนภาษาแบบองค์รวม
การสอนภาษาแบบองค์รวม เป็นปรัชญาแนวคิดความเชื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ เป็นการสอนที่เน้นพัฒนาการทุกๆด้าน ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน สิ่งสำคัญในการสอนภาษาแบบองค์รวมคือต้องพัฒนาให้เข้ากับผู้เรียนเป็นสำคัญ

กลุ่มที่5 การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ควรคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กในการจัดควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ จัดให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ทางภาษา

หลักการจัดประสบการณ์ เป็นวิธีที่เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ให้เด็กลงมือกระทำ ทางด้านจิตวิทยาเป็นการทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลง คือการได้ทดลองปฏิบัติ ต้องเป็นการปฏิบัติที่เป็นไปตามธรรมชาติ คือ มีอิสระ สนุกสนาน ไม่มีกรอบ เป้นการจัดบนพื้นฐานความสนุกสนาน ไม่มีขอบเขตบังคับ

บรรรยากาศในการเรียน
การนำเสนองานวันนี้มีข้อผิดพลาด คือ ปัญหาของคำควบกล้ำ ในการนำเสนอ ต้องพยายามฝึก น้ำเสียง คำพูด ภาษา อากาศในห้องเย็นสบาย

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 4

อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน
กลุ่ม1 ความหมายของภาษา
ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร มี2 ประเภท คือ วัจนภาษา และอวัจนภาษา
วัจนภาษา คือ ภาษาที่เป็นถ้อยคำ การพูด ส่วนอวัจนภาษาเป็นภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ นอกเหนือการใช้คำพูด ในการจัดประสบการณ์ทางภาษา เป็นเครื่องมือของการคิด การแสดงออกถึงความต้องการให้สื่อถึงความเข้าใจกัน

กลุ่ม2 ทฤษฏีทางสติปัญญา
เพียเจต์ กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กเรียนรู้ผ่านระบบประสาท การขยายโครงสร้าง การปรับเข้าสู้โครงสร้าง
บรูเนอร์ แบ่งการเรียนรู้เป็น 3 ขั้น คือ ขั้นการเรียนรู้การกระทำ
ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ
ขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์
การเรียนรู้จะเกิดก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

กลุ่ม3 จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓ ด้าน ดังนี้
๑. ด้านพุทธิพิสัย ๒. ด้านเจตพิสัย ๓. ด้านทักษะพิสัย
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
๑. แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
๒. สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ
๓. การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมา
๔. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคล

กลุ่ม4 การสอนภาษาแบบองค์รวม
เป็นการสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ เน้นการการนำรวมวรรณกรรมต่างๆที่ดีมาเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ที่หลาหหลาย หลักการสอนให้เด็กเห็นภาพจริงและของจริง

บรรยากาศในการเรียน
วันนี้มีการเรียนแบบการออกมารายงานหน้าชั้นเป็นกลุ่ม อากาศในห้องเย็นสบาย

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่3

วันที่27 พ.ย.52 อาจารย์ ไปสัมนาการพัฒนาหลักสูตร ที่ จ.กาญจนบุรี ให้นักศึกษาค้นคว้าและนำเสนอกิจกรรมและสื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยโดยเขียนลงในบล็อก

เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กต้องรวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ทักษะการอ่านการเขียนเท่านั้น เพราะการฟังการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กได้ง่ายๆ โดยสังเกตว่าเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
ครูต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร ประสบการณ์ทางด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบWhole Language คือ สอนอย่างเป็นธรรมชาติ เนื้อหาอยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของห้องเรียน ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแข่งขัน ครูต้องสอนทุกทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้อกัน ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสนุกสนาน
ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
ควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก ให้ความเคารพกับภาษาที่เด็กใช้ มีการประเมินโดยการสังเกต ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสม มีการเสนอความคิดต่อผู้ปกครอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น จดประสบการณ์การอ่านและส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำ
ขั้นตอนการอ่านและการเขียน
ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา
1.ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ใช่การจับเด็กมานั่งเรียนอย่างเดียว
2.ควรสอนโดยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก่งเด็กอ่อน
3.การที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความสนใจอยากรู้แล้ว จะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาสามารถจำคำต่างๆได้ โดยครูอาจใช้ความคิดเกี่ยวข้องกับภาษาของเด็กมาสอน ขณะที่เด็กกำลังสนใจที่จะเยนชื่อตัวเอง ก็จะสอนให้เด็กทราบว่าชื่อตัวเองสะกดอย่างไรหรืออาจจะทำเป็นธนาคารคำศัพท์(WORD BANK) ประจำห้องเรียน ที่เด็กๆสามารถมาเปิดดูหรือค้นคว้าได้

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บันทึกครั้งที่ 2

วันศุกร์ ที่ 13 พฤสจิกายน พ.ศ.2552
คำสั่งอาจารย์ให้นักศึกแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ได้ เป็นกลุ่มที่ 3
หัวข้อ จิตวิทยาการเรียนรู้

บรรยากาศห้องเรียน
วันนี้อากาศในห้องเรียนสบายๆ อากาศไม่เย็นมากนัก การสอนของอาจารย์วันนี้อาจารย์ให้ทำงานเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน

จิตวิทยาการเรียนรู้
ความหมายของการเรียนรู้

นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning) ประดินันท์ อุปรมัย (๒๕๔๐, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ ๑๕, หน้า ๑๒๑) “ การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม “ ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม

ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์ เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)ทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism) ซึ่งเน้นเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner's Operant Conditioning Theory)
B.F. Skinner (1904 - 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ (Operant Behavior)
๒. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มองเห็นความสำคัญของกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลในระหว่างการเรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าและการตอบสนอง นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า พฤติกรรมหรือการตอบสนองใดๆ ที่บุคคลแสดงออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งหมายถึงการหยั่งเห็น (Insight) คือความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา


เอกสารอ้างอิง

ประดินันท์ อุปรมัย . ๒๕๔๐ . เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา หน่วยที่ ๔ มนุษย์กับการเรียนรู้(น. ๑๑๗ - ๑๕๕) . พิมพ์ครั้งที่ ๑๕ : นนทบุรี, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรรณี ชูทัย เจนจิต . ๒๕๓๘ . จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ ๔ ; กรุงเทพ , บริษัท
คอมแพคท์พริ้นท์จำกัด.
อัจฉรา ธรรมาภรณ์ .๒๕๓๑. จิตวิทยาการเรียนรู้. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี, ๒๕๓๑.

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ครั้งที่1


การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การเรียนรู้ทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัย มีการจัดการเรียนรู้ทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ให้มีความรู้ความเข้าใจในภาษาของเด็กปฐมวัยมากขึ้น ทำให้มีการสื่อสารกันอย่างเข้าใจ และได้เรียนรู้พัฒนาการด้านภาษาของเด็ก


บรรยากาศในห้องเรียน


บรรยากาศในห้องเรียน น่าเรียนมาก มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ค้นหาความรู้ซึ่งคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี อากาศในห้องเรียนก็เย็นสบาย อาจารย์ก็สอนเป็นกันเองกับนักศึกษา


สรุปใจความสำคัญของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็ก


การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการดำเนินงาน วางแผน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ประกอบไปด้วย การฟัง พูด อ่าน เขียน และคำนึงถึงความเป็นตัวตนของเด็ก รู้ถึงการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการเรียนรู้เตรียมความพร้อมให้กับเด็กได้แสดงออกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และสัมผัส


สรุป


การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย คือ การดำเนินงาน วางแผน การเรียนรู้ทางด้านภาษาของเด็ก โดยคำนึงถึงความเป็นตัวตนของเด็ก มีความเข้าใจในด้านภาษาของเด็กมากขึ้น เรียนรู้พัฒนาการต่างๆ ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน ให้เด็กแสดงออกผ่านประสบการณ์ทั้ง 5 ด้าน


น.ส.จันจิรา มีศิริ
5111207352
เอกการศึกษาปฐมวัย
06/11/52