วันที่27 พ.ย.52 อาจารย์ ไปสัมนาการพัฒนาหลักสูตร ที่ จ.กาญจนบุรี ให้นักศึกษาค้นคว้าและนำเสนอกิจกรรมและสื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยโดยเขียนลงในบล็อก
เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กต้องรวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ทักษะการอ่านการเขียนเท่านั้น เพราะการฟังการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กได้ง่ายๆ โดยสังเกตว่าเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
ครูต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร ประสบการณ์ทางด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบWhole Language คือ สอนอย่างเป็นธรรมชาติ เนื้อหาอยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของห้องเรียน ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแข่งขัน ครูต้องสอนทุกทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้อกัน ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสนุกสนาน
ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
ควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก ให้ความเคารพกับภาษาที่เด็กใช้ มีการประเมินโดยการสังเกต ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสม มีการเสนอความคิดต่อผู้ปกครอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น จดประสบการณ์การอ่านและส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำ
ขั้นตอนการอ่านและการเขียน
ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา
1.ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ใช่การจับเด็กมานั่งเรียนอย่างเดียว
2.ควรสอนโดยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก่งเด็กอ่อน
3.การที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความสนใจอยากรู้แล้ว จะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาสามารถจำคำต่างๆได้ โดยครูอาจใช้ความคิดเกี่ยวข้องกับภาษาของเด็กมาสอน ขณะที่เด็กกำลังสนใจที่จะเยนชื่อตัวเอง ก็จะสอนให้เด็กทราบว่าชื่อตัวเองสะกดอย่างไรหรืออาจจะทำเป็นธนาคารคำศัพท์(WORD BANK) ประจำห้องเรียน ที่เด็กๆสามารถมาเปิดดูหรือค้นคว้าได้
วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
บันทึกครั้งที่ 2
วันศุกร์ ที่ 13 พฤสจิกายน พ.ศ.2552
คำสั่งอาจารย์ให้นักศึกแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ได้ เป็นกลุ่มที่ 3
หัวข้อ จิตวิทยาการเรียนรู้
บรรยากาศห้องเรียน
วันนี้อากาศในห้องเรียนสบายๆ อากาศไม่เย็นมากนัก การสอนของอาจารย์วันนี้อาจารย์ให้ทำงานเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
จิตวิทยาการเรียนรู้
ความหมายของการเรียนรู้
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning) ประดินันท์ อุปรมัย (๒๕๔๐, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ ๑๕, หน้า ๑๒๑) “ การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม “ ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์ เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)ทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism) ซึ่งเน้นเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner's Operant Conditioning Theory)
B.F. Skinner (1904 - 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ (Operant Behavior)
๒. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มองเห็นความสำคัญของกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลในระหว่างการเรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าและการตอบสนอง นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า พฤติกรรมหรือการตอบสนองใดๆ ที่บุคคลแสดงออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งหมายถึงการหยั่งเห็น (Insight) คือความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา
เอกสารอ้างอิง
ประดินันท์ อุปรมัย . ๒๕๔๐ . เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา หน่วยที่ ๔ มนุษย์กับการเรียนรู้(น. ๑๑๗ - ๑๕๕) . พิมพ์ครั้งที่ ๑๕ : นนทบุรี, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรรณี ชูทัย เจนจิต . ๒๕๓๘ . จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ ๔ ; กรุงเทพ , บริษัท
คอมแพคท์พริ้นท์จำกัด.
อัจฉรา ธรรมาภรณ์ .๒๕๓๑. จิตวิทยาการเรียนรู้. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี, ๒๕๓๑.
คำสั่งอาจารย์ให้นักศึกแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ได้ เป็นกลุ่มที่ 3
หัวข้อ จิตวิทยาการเรียนรู้
บรรยากาศห้องเรียน
วันนี้อากาศในห้องเรียนสบายๆ อากาศไม่เย็นมากนัก การสอนของอาจารย์วันนี้อาจารย์ให้ทำงานเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
จิตวิทยาการเรียนรู้
ความหมายของการเรียนรู้
นักจิตวิทยาหลายท่านให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้ เช่น
คิมเบิล ( Kimble , 1964 ) "การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวรในพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากการฝึกที่ได้รับการเสริมแรง"
ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (Hilgard & Bower, 1981) "การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning) ประดินันท์ อุปรมัย (๒๕๔๐, ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้) : นนทบุรี, พิมพ์ครั้งที่ ๑๕, หน้า ๑๒๑) “ การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม “ ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์ เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้ ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)ทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response) ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism) ซึ่งเน้นเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner's Operant Conditioning Theory)
B.F. Skinner (1904 - 1990) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้ทำการทดลองด้านจิตวิทยาการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ที่มีการตอบสนองแบบแสดงการกระทำ (Operant Behavior)
๒. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มองเห็นความสำคัญของกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลในระหว่างการเรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าและการตอบสนอง นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า พฤติกรรมหรือการตอบสนองใดๆ ที่บุคคลแสดงออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งหมายถึงการหยั่งเห็น (Insight) คือความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา
เอกสารอ้างอิง
ประดินันท์ อุปรมัย . ๒๕๔๐ . เอกสารการสอนชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา หน่วยที่ ๔ มนุษย์กับการเรียนรู้(น. ๑๑๗ - ๑๕๕) . พิมพ์ครั้งที่ ๑๕ : นนทบุรี, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรรณี ชูทัย เจนจิต . ๒๕๓๘ . จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ ๔ ; กรุงเทพ , บริษัท
คอมแพคท์พริ้นท์จำกัด.
อัจฉรา ธรรมาภรณ์ .๒๕๓๑. จิตวิทยาการเรียนรู้. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี, ๒๕๓๑.
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ครั้งที่1
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การเรียนรู้ทางด้านภาษาของเด็กปฐมวัย มีการจัดการเรียนรู้ทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ให้มีความรู้ความเข้าใจในภาษาของเด็กปฐมวัยมากขึ้น ทำให้มีการสื่อสารกันอย่างเข้าใจ และได้เรียนรู้พัฒนาการด้านภาษาของเด็ก
บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศในห้องเรียน น่าเรียนมาก มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ค้นหาความรู้ซึ่งคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี อากาศในห้องเรียนก็เย็นสบาย อาจารย์ก็สอนเป็นกันเองกับนักศึกษา
สรุปใจความสำคัญของการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็ก
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการดำเนินงาน วางแผน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ประกอบไปด้วย การฟัง พูด อ่าน เขียน และคำนึงถึงความเป็นตัวตนของเด็ก รู้ถึงการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการเรียนรู้เตรียมความพร้อมให้กับเด็กได้แสดงออกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และสัมผัส
สรุป
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย คือ การดำเนินงาน วางแผน การเรียนรู้ทางด้านภาษาของเด็ก โดยคำนึงถึงความเป็นตัวตนของเด็ก มีความเข้าใจในด้านภาษาของเด็กมากขึ้น เรียนรู้พัฒนาการต่างๆ ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็ก ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน ให้เด็กแสดงออกผ่านประสบการณ์ทั้ง 5 ด้าน
5111207352
เอกการศึกษาปฐมวัย
06/11/52
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)